วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อนาคตการ “อ่าน“ ของคนไทย จะเพิ่มขึ้นจริงหรือ!


จากการที่มีเทคโนโลยี e-Book ได้สร้างกระแสความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน ประกอบกับราคา e-Reader ที่มีแนวโน้มว่าจะถูกลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทีมงานการศึกษาวันนี้มีโอกาสได้เข้าร่วมแถล่งข่าว "อุตสาหกรรมสำนักพิมพ์และการอ่านในสังคมไทย" กับสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (ส।พ.จ.ท.)

เนื้อหาในการแถลงข่าวที่น่าสะดุดใจทีมงานคือวงการหนังสือถึงขั้นวิกฤตแล้วจริง ๆ หรือ เมื่อตัวเลขดัชนีการอ่านพบว่า สถานการณ์การอ่านของคนไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ประเทศไทยมีปริมาณการอ่านต่ำกว่าประเทศอื่นมากโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันแล้วอย่างเช่น ประเทศเวียดนาม มีปริมาณการอ่านเฉลี่ย 60 เล่มต่อปี ประเทศสิงคโปร์ 40-60 เล่มต่อปี ประเทศมาเลเซีย 40 เล่นต่อปี ประเทศญี่ปุ่น 50 เล่มต่อปี ประเทศเกาหลีใต้ 52.2 เล่มต่อปี ประเทศสาธารณรัฐเช็ค 16 เล่มต่อปี และประเทศไทย 94 นาทีต่อวัน(ปี 2552) ในขณะที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะเพิ่มการอ่านเป็น 10 เล่มต่อปีในปี २५५५

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าประเทศพัฒนาแล้วในภูมิภาคเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะมีอัตราการรู้หนังสือของประชากรผู้ใหญ่ที่ค่อนข้างสูงมาก ดังนั้นรัฐบาลของไทยเราจึงควรมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น

นางริสรวล อร่ามเจริญ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "จากการที่มีเทคโนโลยี e-Book ได้สร้างกระแสความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน ประกอบกับราคา e-Reader ที่มีแนวโน้มว่าจะถูกลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่จากการสอบถามของผู้เข้าร่วมชมมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 15 เมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมาจำนวน 1,316 ราย หรือร้อยละ 3।0 จากผู้ตอบคำถามทั้งหมดชอบอ่านหนังสือจากอินเทอร์เน็ต หรือ e-Book และผู้เข้าชมงานจำนวนถึง 1,071 ราย หรือร้อยละ 81.4 จากผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมดที่ยังไม่มี e-Reader แม้จะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า ทัศนคติของผู้อ่านไทยจะให้ความสนใจ e-Book มากขึ้นหรือไม่เพียงใด เราก็ควรจัดให้มีการอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถส่งเสริมชุมชนและสังคมในระดับท้องที่ ให้มีความเข้าใจและทราบถึงความสำคัญของการอ่าน ตลอดจนอบรมวิธีการและแนวคิดในการสนับสนุนให้ชุมชนของประเทศมีการจัดกิจกรรมด้านการอ่านอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มจำนวนผู้อ่านหนังสือให้มากขึ้นในอนาคต "

ด้าน "ปุ้ย" พิมลวรรณ ศุภยางค์ พิธีกรรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง เข้าร่วมพูดคุยในงานเปิดตัวสำนักพิมพ์น้องใหม่ ภายใต้หัวข้อ "อ่านนิทานให้ลูกฟังตั้งแต่เล็ก ช่วยเด็กคิดเป็น แก้ปัญหาได้ " พูดถึงวิธีการเลี้ยงลูกให้รักการอ่านว่า " พ่อแม่ต้องพร้อมทั้งในเรื่องการดูแลจิตใจและความรู้สึกด้วย ไม่ใช่แค่ตั้งหน้าทำงานหาเงิน เพราะจิตใจเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าสิ่งใด พ่อแม่ควรมีกลยุทธ์และเทคนิค เพื่อทำให้เด็กรู้สึกอยากเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ฟัง สิ่งสำคัญคือปล่อยให้เขามีโอกาสได้คิดและเลือกทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง โดยพยายามเข้าใจและสนับสนุนในสิ่งที่เขาชอบและมีประโยชน์ เช่น ส่งเสริมการอ่านหนังสือ เขาจะได้คิดตามในสิ่งที่ได้อ่านและนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตัวเอง เป็นผลพวงที่ได้จากการอ่านที่พ่อแม่น่าจะสนับสนุนการอ่านของเด็กให้มากขึ้น "

ไม่มีความคิดเห็น: