10 ประเทศที่อันตรายที่สุดในโลก
1 อิรัก (Iraq)
อิรักซึ่งครั้งอดีตขึ้นชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดอารยธรรมของโลก มาบัดนี้กลายเป็นประเทศสวรรค์แห่งก่อการร้าย แม้สงครามอ่าวใน ค।ศ।1990 ซึ่งทหารฝ่ายอิรักเสียชิวิตกว่า 100,000 นายในการปะทะกับกองกำลังฝ่ายพันธมิตรจะจบไปแล้ว แต่จุดที่หมายสำคัญๆ ในอิรักก็ยังคงถูกโจมตีอยู่เป็นเพราะขบการก่อการร้ายนั้นยังคงเกลียดชังตะวันตก ซึ่งเห็นได้ข่าวอยู่เป็นระยะๆ คนตายเพราะมือระเบิดฆ่าตัวตายแทบเป็นปกติ อีกทั้งสองมุสลินก็หาเรื่องฆ่ากันตายไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งล่าสุดโอบาม่าคิดวางแผนถอนกำลังทหารจากอิรักซึ่งบอกเลยว่าเป็นเรื่องยากมากๆ
2। อัฟกานิสถาน (Afghanistan)
ในปี 1973 รัฐบาลของซาอีร์ ชาห์ ถูกโค่นลงด้วยการปฏิวัติของกองทัพซึ่งนำโดยเดาอุด ข่าน และพรรคพีดีพีเอ (พรรคคอมมิวนิสต์อัฟกัน) ข่านได้ล้มเลิกระบบราชาธิปไตยและประกาศตัวขึ้นเป็นประธานาธิบดี ต่อมาก็มีการสถาปนาสาธารณรัฐอัฟกานิสถาน ในปี 1978 ข่านได้ปลดฝ่ายตรงข้ามที่น่าสงสัยออกจากรัฐบาล ทำให้เกิดฝ่ายคอมมิวนิสต์ก่อรัฐประหารนองเลือดขึ้น โดยข่านเสียชีวิตลงในเหตุการณ์ครั้งนี้ ตารากีได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี และได้ลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพกับสหภาพโซเวียต ในปี 1979 เริ่มมีความเคลื่อนไหวปฏิบัติการของกองโจรอัฟกัน (มูจาฮีดีน) แล้วเหตุการสังหารหมู่นองเลือดก็เกิดขึ้นอีกครั้ง ตารากีถูกฆ่าตาย โดยฮาฟีซูลลาห์ อามินขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีแทน ต่อมาอามินก็ถูกฆ่าอีก คราวนี้บับรัก คาร์มาลกลายเป็นประธานาธิบดี สหภาพโซเวียตบุกอัฟกานิสถานในเดือนธันวาคมปี 1979 พอถึงปี 1986 คาร์มาลก็ถูกปลดออกจากตำแหน่ง มี ดร। นาจีบูลลาห์ ซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอหยุดยิงต่อสหภาพโซเวียต ขึ้นรับตำแหน่งแทน แต่ฝ่ายกองโจรมูจาฮีดีนไม่ยอมรับประธานาธิบดีคนนี้ ต่อมากองโจรมูจาฮีดีนได้ชัยชนะครั้งใหญ่ และสหภาพโซเวียตได้ถอนกำลังออกไปในปี 1989 ฝ่ายกบฏมูจาฮีดีนยังคงต่อสู้กับทหารของนาจีบูลลาห์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 1989 กองโจรอัฟกันได้เลือกซีบาตูลลาห์ โมจาดีดีให้เป็นหัวหน้ารัฐบาลลี้ภัยของตน ในปี 1992 กลุ่มกองโจรดังกล่าวได้บุกเข้ายึดเมืองคาบุลและก่อตั้งรัฐอิสลาม (โดยมีบูร์ฮันนูดิน รับบานีเป็นประธานาธิบดี) ในปี 1994 มีการจัดตั้งกองทหารตาลีบันและเริ่มโจมตีรัฐบาลอิสลามอย่างอุกอาจ ขณะเดียวกัน ดอสตูมและกูลบุดดิน เฮกมัตยาร์ ซึ่งเป็นผู้นำของเฮซไบ-อิสลาม ก็ยังคงขัดแย้งกับรัฐบาลของรับบานีอยู่ตลอด เมืองคาบุลเหลือแต่ซากปรักหักพังของบ้านเรือน กองทหารตาลีบันได้ชัยชนะครั้งใหญ่ในปี 1995 เมื่อถึงเดือนมิถุนายนปี 1996 เฮกมัตยาร์ได้ลงนามในข้อตกลงสงบศึกกับรับบานี และกลับเข้าเมืองคาบุลในฐานะนายกรัฐมนตรี ในเดือนกันยายน กองทหารตาลีบันได้บีบรับบานีและรัฐบาลให้ออกจากเมืองคาบุล พร้อมกับได้สังหารนาจีบูลลาห์ ในปี 1998 กองทหารตาลีบันได้บุกทางเหนือ และสร้างสมอำนาจจนเป็นกลุ่มที่แข็งแกร่งและทรงพลังที่สุดของประเทศแห่งนี้ สงครามในอัฟกานิสถานยังไม่สิ้นสุดลงเพียงแค่นั้น นับตั้งแต่กองทัพของสหภาพโซเวียตได้ถอนกองกำลังออกไป กลุ่มอัฟกันกลุ่มต่างๆ ก็พยายามกำจัดศัตรูทิ้งไป แม้ว่ากองทหารตาลีบันจะแข็งแกร่งขึ้นมากตั้งแต่ปี 1998 แต่ก็ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายขั้นสุดท้ายได้อยู่ดี การต่อสู้อันรุนแรงเพื่ออำนาจยังคงดำเนินต่อไป
ต่อท้าย #1 18 เม.ย. 2553, 2:18:27
3। เชชเนีย (Chechen Republic)
เชชเนีย เป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองของสหพันธรัฐรัสเซีย มีประชากรก่อนสงคราม ๑। ... เชชเนีย ยังเป็นแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของรัสเซียอีกด้วยที่อันตรายระดับ 3 ก็เพราะปัจจุบันนี้กลุ่มกบฏเชเชนยังเคลื่อนไหวก่อการร้ายอยู่เนื่องๆ มักใช้การจับพลเรือนเป็นตัวประกัน เพื่อเรียกร้องความสนใจจากนานาชาติเกี่ยวกับการเรียกร้องเอกราชของพวกเขา วิกฤติตัวประกันครั้งรุนแรงครั้งแรกเกิดขึ้น 6 เดือนหลังทางการรัสเซียส่งกำลังเข้าสาธารณรัฐเชชเนียเพื่อป้องกันการแยกตัวเป็นเอกราชในปี 1994 โดยกลุ่มกบฏเชชเนียยึดโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองบูเดนนอฟสก์ ทางใต้ของรัสเซียนานหลายวัน แม้จะมีการตกลงเจรจาสันติภาพ(ซึ่งล้มเหลวในเวลาต่อมา) แต่การโจมตีของกลุ่มกบฏและความผิดพลาดระหว่างจู่โจมของเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 100 คนซอคฮาร์ ดูดาเยฟ ผู้นำเชเชนในขณะนั้นออกมาประณามการจับตัวประกัน แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์จับตัวประกันอีกครั้งเมื่อปี 1996 ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าแท้จริงแล้วเขาเป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ทั้งนี้คนร้ายจับตัวประชาชนเกือบ 3,000 คนไว้เป็นตัวประกัน ในโรงพยาลาลแห่งหนึ่งในเมืองคิซยาร์ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลถอนทหารออกจากเชชเนีย ก่อนจะปล่อยตัวประกันเกือบทั้งหมด และพาตัวประกันส่วนหนึ่งกลับไปที่เชชเนียด้วย อย่างไรก็ตามกองทัพรัสเซียได้ซุ่มโจมตีกลุ่มกบฏระหว่างข้ามพรมแดนไปเชชเนีย ทำให้ตัวประกันหลายคนเสียชีวิต นับเป็นการยุติวิกฤติตัวประกันด้วยเลือดอีกครั้งหนึ่งสถานการณ์ซับซ้อนขึ้นอีก เมื่อกลุ่มผู้สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนเชเชนทำการจี้เรือโดยสารข้ามฟากในทะเลดำ และขู่จะระเบิดเรือซึ่งมีผู้โดยสาร 225 คน หากทางการไม่ยุติความรุนแรงกับกลุ่มกบฏในเหตุการณ์เมืองคิซยาร์ อย่างไรก็ตามคนร้ายกลุ่มนี้ยอมมอบตัวหลังควบคุมเรือนาน 4 วันหลังสิ้นสงครามเชเชนครั้งแรกในปี 1996 เชเชนกลายเป็นดินแดนไร้กฎหมาย กลุ่มขุนศึกที่เป็นปฏิปักษ์กันก่อศึกรบราฆ่าฟันกันเองอย่างดุเดือด การลักพาตัว และฆาตกรรม มีการจับตัวชาวต่างชาติที่ทำงานให้ความช่วยเหลือไปคุมขังนานนับปี ข้อมูลจากบริษัทความมั่นคง Kroll Associates UK คาดการณ์ว่า ในปี 1998 มีชาวต่างชาติถูกจับเป็นตัวประกันในเชชเนียราว 100 คนเดือนมีนาคม 2001 เครื่องบินที่มีกำหนดเดินทางจากนครอิสตันบุลไปมอสโก ถูกคนร้ายจี้ให้เปลี่ยนเส้นทางไปที่เมืองเมดินา ในซาอุดีอาระเบีย เหตุการณ์จบลงด้วยการเสียชีวิตของคน 3 คน หลังกองกำลังความมั่นคงของซาอุดีอาระเบียบุกเข้าจู่โจมเครื่องบินหนึ่งสัปดาห์ต่อมา คนร้ายที่สนับสนุนกลุ่มเชเชนจับนักท่องเที่ยวราว 120 คน ในโรงแรมหรู ที่อิสตันบูล ไว้เป็นตัวประกันเพื่อต่อต้านสงครามเดือนกรกฎาคม 2001 นักรบเชเชนจับตัวผู้โดยสารราว 30 คน ในรถบัสทางใต้ของรัสเซีย เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักรบที่ถูกจับกุมตัวจากการจี้เครื่องบินเมื่อครั้งก่อนเดือนพฤษภาคม 2002 คนร้ายหนึ่งคนบุกเดี่ยวจับตัวประกันราว 10 คน ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในอิสตันบูล แต่ภายหลังทั้งหมดถูกปล่อยตัวโดยไม่ได้รับบาดเจ็บเหตุจับตัวประกันที่นับว่ารุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซีย น่าจะเป็นการจับตัวประกันในโรงละครแห่งหนึ่งของมอสโกเมื่อปี 2002 โดยกลุ่มกบฏราว 40-50 คน ที่มีผู้หญิงรวมอยู่ด้วย เหตุการณ์ครั้งนั้นจบลงด้วยการเสียชีวิตของตัวประกัน 129 คน และคนร้าย 41 คน หลังจากตำรวจยิงก๊าซพิษระหว่างจู่โจมเข้าไปในโรงละครหลังจากนั้นกลุ่มกบฏเชเชนก็โจมตีด้วยการใช้ระเบิดพลีชีพเป็นระยะๆ นอกเหนือไปจากการโจมตีกองทัพรัสเซียในเชชเนียรายวัน ขณะที่กองกำลังความมั่นคงของทางการก็ไม่รามือ ตามเก็บสมาชิกกลุ่มเชเชนอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
4. แอฟริกาใต้ (The Republic of South Africa)
เป็นอีกอันดับ ที่ไม่รู้ติดได้ยังไง ความจริงนี้ประเทศแอฟริกาใต้นี้เจริญมาก แถมเป็นเวทีในการจัดมหกรรมฟุตบอลโลกด้วย ผมว่ามันอาจเป็นเพราะปัญหาการแบ่งแยกผิวสีในประเทศระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวดำที่มักมีปัญหากระทบกระทั้งเป็นระยะ จนเกิดการจารชนอยู่บ่อยครั้งก็เป็นไปได้
ต่อท้าย #2 18 เม.ย. 2553, 2:19:12
5. จาเมกา (Jamaica)
จาเมก้า(บางคนเรียกจาไมก้า) ประเทศนี้ไม่มีกลุ่มก่อการร้ายก็จริง แต่คนดำแถบคาริบเบียนนี่นี้หน้าตาจะไม่ค่อยรับแขก และหารอยยิ้มก็ยากเหลือเกิน (ขนาดยิ้มให้แล้วยังไม่ยอมยิ้มกลับ) ค่าครองชีพที่นี่สูงมาก แต่ความสะดวกสบาย ความเจริญต่ำ และไว้ใจใครไม่ค่อยได้ อาชกรรมเยอะ เพราะเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาว่างงานสูงและปัญหายาเสพต์ติด โรคเอดส์
6. ซูดาน (Sudan)
ซูดาน ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา ถูกบริหารโดยรัฐบาลทหารและพลเรือนอย่างไร้เสถียรภาพต่อเนื่องกันมา นับตั้งแต่ประเทศแห่งนี้ได้รับเอกราชในปี 1956 จากรัฐบาลร่วมแองโกล-อียิปต์ ความขัดแย้งเกิดขึ้นมายาวนานระหว่างชาวมุสลิมอาหรับทางตอนเหนือของซูดาน (เป็นที่ตั้งของรัฐบาล) และแอฟริกันผิวดำที่เป็นชาวคริสต์ทางตอนใต้ ความขัดแย้งดังกล่าวรุนแรงขึ้นภายหลังการกฎหมายชาเรียในปี 1983 ในรัฐบาลของประธานาธิบดีไนเมอรี กองทัพปลดปล่อยชาวซูดาน (เอสพีแอลเอ) เริ่มโจมตีภาคเหนือหนักขึ้นจนถึงขั้นครามกลางเมืองเต็มรูปในกลางทศวรรษ 1980 การเจรจาระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายการเมืองของกลุ่มเอสพีแอลเอมีขึ้นในปี 1988/9 แต่ก็มีอันต้องล้มเลิกไปเพราะสถานการณ์ต่างๆ ตอนที่นายพลโอมาร์ ฮัสซัน อาห์หมัด อัล-บาชีร์ทำรัฐประหารยึดอำนาจในเดือนมิถุนายน 1989 ในทศวรรษที่ 1990 กองกำลังรัฐบาลได้เปิดฉากการโจมตีทางอากาศไปยังเป้าหมายพลเรือนในซูดานตอนใต้ คาดว่ามีประชาชนเสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้มากกว่า 1।2 ล้านคน เหตุการณ์นี้เองที่สร้างความย่อยยับให้กับเศรษฐกิจของซูดาน
ต่อท้าย #3 18 เม.ย. 2553, 2:20:07
7. ไทย (Thailand)
คุณคงรู้แล้ว คงไม่เล่าอะไรมาก แต่มีข้อมูลเสริมนิดหน่อยตรงที่ประเทศไทยยังเป็นประเทศสวรรค์ในการค้ามนุษย์ อาชญากรข้ามชาติ และสนับสนุนการก่อการร้าย อย่างที่เห็นในข่าว เช่น การให้ขบการก่อการร้าย"อัล มานาร์"เช่าสัญญาณดาวเทียมไทยคมเผยแพร่รายการไปทั่วโลก การสนับสนุนที่ซ่อนตัวอาชญากรระดับโลกระเบิดบาลี
8. โคลัมเบีย (Columbia)
สงครามกลางเมืองในโคลอมเบีย ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานที่สุดของโลก ได้ดำเนินมาโดยไม่มีผู้ใดห้ามปรามถึง 35ปีแล้ว แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตนับพันๆ คน กำลังคนราว 15,000 นายจากฝ่ายกองโจรกลุ่มต่างๆ ห้ากลุ่มสามารถควบคุมพื้นที่ในชนบทไว้ได้ถึง 60% ฝ่ายตรงข้ามกับพวกกบฏก็คือกองกำลังรักษาความมั่นคงของโคลอมเบีย และกลุ่มทหารฝ่ายขวาที่ไม่ได้สังกัดหน่วยใดหน่วยหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งรู้จักกันในว่าองค์กรกึ่งทหาร ถึงตอนนี้อำนาจเศรษฐกิจและการเมืองของโคลอมเบียยังคงอยู่ในมือของชนชั้นสูงซึ่งเป็นผู้บริหารมาโดยตลอด แต่ความขัดแย้งในประเทศนี้มีมากกว่าเรื่องการเมือง แต่สิ่งที่เป็นหัวใจหลักของประเด็นความขัดแย้งได้แก่การควบคุมกเส้นทางขนย้ายยาเสพย์ติดและการคอรัปชั่นต่างหาก
ต่อท้าย #4 18 เม.ย. 2553, 2:20:57
9. เฮติ (Haiti)
เฮติไม่มีกลุ่มขัดแย้งทำไหร่ แต่ปัญหาก็คือประเทศนี้มีคุณภาพชีวิตค่อนข้างต่ำ และสุขอนามัยต่ำ ล่าสุดมีการก่อการจลาจลปัญหาความยากจนและวิกฤตราคาอาหารแพง ซึ่งทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้วหลายราย
10. เอริเทรีย (Eritrea)
ความสัมพันธ์ระหว่างเอธิโอเปียและเอริเทรียนั้นราบรื่นดีมาตลอด เอริเทรียได้ช่วยเหลือเอธิโอเปียในการโค่นล้มเมนจิสตู และในปี 1993 เอริเทรียก็ได้รับเอกราชภายหลังการต่อสู้อันยาวนาน เอริเทรียนั้นยังใช้เงินสกุลเอธิโอเปียมาจนถึงปี 1997 หลังจากเอริเทรียเริ่มนำสกุลเงินของตนเองมาใช้โดยอ้างเหตุผลทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศก็เริ่มสั่นคลอน ทั้งสองประเทศไม่เคยคิดจะกำหนดแบ่งแนวพรมแดนที่ทอดยาวระหว่างกัน และก่อนหน้า ค।ศ।1998 เรื่องพรมแดนก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร ชาวเอธิโอเปียที่อยากหางานสามารถข้ามชายแดนเข้าสู่เอริเทรียได้อย่างง่ายดาย ขณะเดียวกันก็มีชาวเอริเทรียจำนวนนับหมื่นอาศัยอยู่ในเอธิโอเปีย แต่ฉับพลันทันใดนั้นเรื่องพรมแดนได้กลายมาเป็นประเด็นหลักของวิกฤติการณ์ การต่อสู้ได้ปะทุขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ.1998 ในบริเวณซึ่งเรียกว่าสามเหลี่ยมแบดเม ซึ่งมีพื้นที่ 400 ตร. กม. เอธิโอเปียซึ่งดูแลพื้นที่สามเหลี่ยมนี้อ้างว่ามีทหารเอริเทรียบุกรุกเข้ามา และต้องการให้ผู้บุกรุกเหล่านี้ถอยกลับไป ทางเอริเทรียยอมรับว่ากองกำลังของตนได้เข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวจริง แต่ก็อ้างว่าเป็นการมาเพื่อจะเอาดินแดนซึ่งเป็นของตนคืน เพราะแผนที่ของอิตาลีซึ่งเขียนขึ้นระหว่างปี 1907 ถึง 1935 ได้ระบุไว้เช่นนั้น ด้านเอธิโอเปียก็บอกว่าตนมีสิทธิในพื้นที่ดังกล่าวตามแผนที่ของสนธิสัญญาปี 1902 การต่อสู้ระหว่างสองประเทศเป็นเหตุให้ประชาชนนับร้อยล้มตายลงและอีกนับพันไร้ที่อยู่อาศัย เมื่อถึงเดือนเมษายนปี 2000 การต่อสู้ที่เกิดขึ้นเป็นพักๆ ก็เปลี่ยนมาเป็นการสู้รบอย่างเต็มรูปแบบ
ข้อมูลจาก D-looks.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น