กรมอนามัย เตือนอันตรายตะกั่วจากหม้อก๋วยเตี๋ยวด้อยคุณภาพ ชี้ พิษสะสมมากเสี่ยงอัมพาต (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หวั่นอันตรายจากหม้อก๋วยเตี๋ยวไม่ได้คุณภาพเสี่ยงปนเปื้อนตะกั่ว ซึ่งอาจมีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค หากได้รับสะสมในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ระบบประสาทส่วนปลายเป็นอัมพาต แนะทางป้องกันควรเลือกใช้หม้อก๋วยเตี๋ยวที่ได้มาตรฐาน มอก.
ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงอันตรายจากสารตะกั่วในหม้อก๋วยเตี๋ยวเก่าไม่ได้คุณภาพ ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีร้านอาหารและแผงลอยทั่วประเทศจำนวน 166,760 แห่ง เป็นร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายก๋วยเตี๋ยว จำนวน 75,000 แห่ง มีตั้งแต่ระดับรถเข็นข้างถนนไปจนถึงระดับร้านในห้างสรรพสินค้า และมีลักษณะการประกอบกิจการทั้งที่เป็นกิจการของครอบครัวที่สืบทอดกันมา แบบร้านที่มีหลายสาขา และแบบเฟรนไชส์ที่มีมากกว่า 20 ราย รวมทั้งแบบร้านมือใหม่เริ่มขายอีกจำนวนมาก ทำให้ร้านก๋วยเตี๋ยวที่จำหน่ายอยู่มีหลายระดับขึ้นอยู่กับความรู้ ทักษะ และเงินทุนของผู้ประกอบการ บางร้านถูกสุขลักษณะ บางร้านก็ไม่ถูกสุขลักษณะ บางร้านใช้วัตถุดิบและเครื่องปรุงที่มีการปนเปื้อนสารเคมี โดยเฉพาะหม้อก๋วยเตี๋ยวซึ่งถือเป็นอุปกรณ์หลักจำเป็นต้องมีคุณภาพ ไม่ชำรุด เพราะหากไม่ได้คุณภาพอาจทำให้เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารตะกั่วได้
ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อไปว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่นิยมใช้หม้อก๋วยเตี๋ยวที่ผลิตจากเหล็กกล้าไร้สนิมออสเตนิติก 304 หรือ 304L โดยนำมาม้วนขึ้นรูป พับตะเข็บรอยต่อและประสานตะเข็บรอยต่อ ป้องกันการรั่วซึมด้วยกระบวนการบัดกรีอ่อน โดยใช้วัสดุบัดกรีที่มีส่วนผสมของตะกั่วและดีบุกในอัตราส่วนประมาณ 40 : 60 โดยมีอุณหภูมิหลอมเหลวประมาณ 190 องศาเซลเซียส ซึ่งตะกั่วที่ใช้บัดกรีในหม้อก๋วยเตี๋ยวสามารถปนเปื้อนกับน้ำลวกเส้นก๋วยเตี๋ยวและน้ำซุปก๋วยเตี่ยวได้ เมื่อรับประทานเข้าไปก็จะทำให้ได้รับสารตะกั่วเข้าไปด้วย
อย่างไรก็ตาม หากได้รับพิษตะกั่วอย่างต่อเนื่องและปริมาณมากจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายอย่างเฉียบพลันคือ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง เมื่อพิษสะสมจะทำให้ระบบประสาทส่วนปลายเป็นอัมพาตที่นิ้วเท้าและมือ เหนื่อยง่าย และอ่อนเพลียได้
"ทั้งนี้ วิธีสังเกตหม้อก๋วยเตี๋ยวที่ไร้สารตะกั่วปนเปื้อน จะมีลักษณะการประสานรอยต่อเป็นแนวตะเข็บเรียบร้อย ประณีต และไม่ขรุขระ เนื่องจากไม่ใช้โลหะประสานแนวเชื่อม แต่อาศัยการหลอมเหลวของเนื้อ สเตนเลส ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหม้อก๋วยเตี๋ยวทั่วไปจะมีตะเข็บรอยต่อขรุขระ และมีรอยตะกั่วเชื่อมชัดเจน"
"นอกจากนี้ต้องผ่านการตรวจสอบสารตะกั่วจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ซึ่งล่าสุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้เหล็กกล้าไร้สนิม : ภาชนะหุงต้มที่มีรอยประสานขึ้น เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มอก. (มาตรฐานบังคับ) ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4043 (พ.ศ. 2552) โดยมีผลบังคับให้ผู้ผลิตต้องผ่านมาตรฐาน มอก. (มาตรฐานบังคับ) เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป กรมอนามัยจึงขอความร่วมมือผู้ประกอบการควรหันมาใช้หม้อก๋วยเตี๋ยวอนามัย ซึ่งมีอายุการใช้งานนานกว่า ทนทาน ไม่ชำรุดง่าย และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคอีกด้วย" อธิบดีกรมอนามัยกล่าวในที่สุด
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หวั่นอันตรายจากหม้อก๋วยเตี๋ยวไม่ได้คุณภาพเสี่ยงปนเปื้อนตะกั่ว ซึ่งอาจมีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค หากได้รับสะสมในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ระบบประสาทส่วนปลายเป็นอัมพาต แนะทางป้องกันควรเลือกใช้หม้อก๋วยเตี๋ยวที่ได้มาตรฐาน มอก.
ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงอันตรายจากสารตะกั่วในหม้อก๋วยเตี๋ยวเก่าไม่ได้คุณภาพ ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีร้านอาหารและแผงลอยทั่วประเทศจำนวน 166,760 แห่ง เป็นร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายก๋วยเตี๋ยว จำนวน 75,000 แห่ง มีตั้งแต่ระดับรถเข็นข้างถนนไปจนถึงระดับร้านในห้างสรรพสินค้า และมีลักษณะการประกอบกิจการทั้งที่เป็นกิจการของครอบครัวที่สืบทอดกันมา แบบร้านที่มีหลายสาขา และแบบเฟรนไชส์ที่มีมากกว่า 20 ราย รวมทั้งแบบร้านมือใหม่เริ่มขายอีกจำนวนมาก ทำให้ร้านก๋วยเตี๋ยวที่จำหน่ายอยู่มีหลายระดับขึ้นอยู่กับความรู้ ทักษะ และเงินทุนของผู้ประกอบการ บางร้านถูกสุขลักษณะ บางร้านก็ไม่ถูกสุขลักษณะ บางร้านใช้วัตถุดิบและเครื่องปรุงที่มีการปนเปื้อนสารเคมี โดยเฉพาะหม้อก๋วยเตี๋ยวซึ่งถือเป็นอุปกรณ์หลักจำเป็นต้องมีคุณภาพ ไม่ชำรุด เพราะหากไม่ได้คุณภาพอาจทำให้เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารตะกั่วได้
ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อไปว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่นิยมใช้หม้อก๋วยเตี๋ยวที่ผลิตจากเหล็กกล้าไร้สนิมออสเตนิติก 304 หรือ 304L โดยนำมาม้วนขึ้นรูป พับตะเข็บรอยต่อและประสานตะเข็บรอยต่อ ป้องกันการรั่วซึมด้วยกระบวนการบัดกรีอ่อน โดยใช้วัสดุบัดกรีที่มีส่วนผสมของตะกั่วและดีบุกในอัตราส่วนประมาณ 40 : 60 โดยมีอุณหภูมิหลอมเหลวประมาณ 190 องศาเซลเซียส ซึ่งตะกั่วที่ใช้บัดกรีในหม้อก๋วยเตี๋ยวสามารถปนเปื้อนกับน้ำลวกเส้นก๋วยเตี๋ยวและน้ำซุปก๋วยเตี่ยวได้ เมื่อรับประทานเข้าไปก็จะทำให้ได้รับสารตะกั่วเข้าไปด้วย
อย่างไรก็ตาม หากได้รับพิษตะกั่วอย่างต่อเนื่องและปริมาณมากจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายอย่างเฉียบพลันคือ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง เมื่อพิษสะสมจะทำให้ระบบประสาทส่วนปลายเป็นอัมพาตที่นิ้วเท้าและมือ เหนื่อยง่าย และอ่อนเพลียได้
"ทั้งนี้ วิธีสังเกตหม้อก๋วยเตี๋ยวที่ไร้สารตะกั่วปนเปื้อน จะมีลักษณะการประสานรอยต่อเป็นแนวตะเข็บเรียบร้อย ประณีต และไม่ขรุขระ เนื่องจากไม่ใช้โลหะประสานแนวเชื่อม แต่อาศัยการหลอมเหลวของเนื้อ สเตนเลส ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหม้อก๋วยเตี๋ยวทั่วไปจะมีตะเข็บรอยต่อขรุขระ และมีรอยตะกั่วเชื่อมชัดเจน"
"นอกจากนี้ต้องผ่านการตรวจสอบสารตะกั่วจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ซึ่งล่าสุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้เหล็กกล้าไร้สนิม : ภาชนะหุงต้มที่มีรอยประสานขึ้น เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มอก. (มาตรฐานบังคับ) ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4043 (พ.ศ. 2552) โดยมีผลบังคับให้ผู้ผลิตต้องผ่านมาตรฐาน มอก. (มาตรฐานบังคับ) เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป กรมอนามัยจึงขอความร่วมมือผู้ประกอบการควรหันมาใช้หม้อก๋วยเตี๋ยวอนามัย ซึ่งมีอายุการใช้งานนานกว่า ทนทาน ไม่ชำรุดง่าย และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคอีกด้วย" อธิบดีกรมอนามัยกล่าวในที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น