วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

งามหน้า! ไทยที่ 7 ของโลก ขโมยของในห้าง


ไทยที่7โลก-ขี้ขโมยผลสำรวจฉกของตามห้าง (ไทยโพสต์)
"เช็คพอยท์" เปิดผลวิจัยคนไทยขี้ขโมยติดอันดับ 7 ของโลก อันดับ 2 ของเอเชีย-แปซิฟิก มูลค่าความเสียหายกว่า 3 หมื่นล้าน ส่วนแชมป์คืออินเดีย ขณะที่ไต้หวันน้อยสุด "บิ๊กซี" เผยแก๊งนักฉกเข้าห้างยังพุ่งปีละ 12,000 ราย
นางสาวคลิโอ อึ้ง ผู้จัดการทั่วไปด้านบริหารลูกค้าประเภทช่องทางการจัดจำหน่าย ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก บริษัท เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ จำกัด เปิดเผยว่า จากผลการศึกษาระดับการโจรกรรมในธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกใน 42 ประเทศ ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2552 ถึงมิถุนายน 2553 พบว่า ประเทศไทยมีการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกติดอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยมีอัตราส่วนการขโมย 1।57% ของยอดขายทั้งหมด คิดเป็นความเสียหายรวม 1।005 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.1150 หมื่นล้านบาท
ส่วนอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่มีการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกมากที่สุด คือ ประเทศอินเดีย มีอัตราส่วนการขโมย 2।72% ของยอดขายทั้งหมด ซึ่งในอัตราส่วนดังกล่าวยังส่งผลให้ประเทศอินเดียกลายเป็นประเทศที่มีการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกเป็นอันดับหนึ่งของโลกอีกด้วย ขณะที่ประเทศที่ 2 ของโลกที่มีการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกมากที่สุด คือ บราซิลและเม็กซิโก ส่วนประเทศที่มีการขโมยสินค้าต่ำที่สุด คือ ประเทศไต้หวัน คิดเป็นอัตราส่วน 0।8% ของยอดขายทั้งหมด
ทั้งนี้ หากมองมูลค่าความเสียหายจากการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลกในปี 2553 คิดเป็นมูลค่า 1।073 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3।261 ล้านล้านบาท ลดลงมาอยู่ที่ 5.6% จากปีก่อนมีอัตราส่วน 6.5% อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมการขโมยสินค้าลดลง แต่สินค้าบางรายการกลับมีแนวโน้มถูกขโมยมากขึ้น ประกอบด้วย เสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าใส่ชั้นนอก เช่น หมวก ถุงมือ และเสื้อโค้ต ขณะที่ร้านค้าปลีกในทั่วโลกที่พบการขโมยมากที่สุด คือ ร้านขายเสื้อผ้า เครื่องประดับ และสินค้าแฟชั่น ตามด้วยร้านขายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ความงาม
"การขโมยโดยลูกค้าของร้าน รวมถึงการลักเล็กขโมยน้อยและอาชญากรรมในร้านค้าปลีกที่มีการเตรียมการไว้ก่อน สร้างมูลค่าความเสียหายสูงสุดในเกือบทุกประเทศ หรือคิดเป็น 42.4% ของอัตราการขโมยสินค้า ตามด้วยการขโมยโดยพนักงานเอง 35.3%" นางสาวคลิโอกล่าว
สำหรับการใช้จ่ายเพื่อป้องกันความสูญเสียจากการขโมยนั้น ทั่วโลกมีอัตราเฉลี่ยของการใช้จ่ายติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยอยู่ที่ 0।34% ขณะที่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0।19% และประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.13% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับภาพรวมของภูมิภาค
ด้านนายอรรณพ อมาตยกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการป้องกันความสูญเสีย บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทใช้งบประมาณติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยจากการขโมยสินค้าปีละ 30-40 ล้านบาท รวม 69 สาขา ซึ่งหลังจากติดตั้งมาเป็นระยะเวลา 12 ปี ส่งผลให้อัตราส่วนการขโมยสินค้าปรับลดลงเหลือ 0।4% จาก 1% แต่หากมองมูลค่าความเสียหายแล้วกลับปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ปีก่อนมีมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ปีละกว่า 200 ล้านบาท ปีนี้เพิ่มเป็นกว่า 300 ล้านบาท เนื่องจากมูลค่าสินค้าปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับภาพรวมในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา นายอรรณพกล่าวว่า บริษัทถูกขโมยสินค้าคิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 100 ล้านบาท โดยพฤติกรรมลูกค้าที่เข้ามาขโมยสินค้ามักมาเป็นแก๊ง จำนวนไม่ต่ำกว่า 10 คน รวมแล้วมีจำนวนสูงถึง 12,000 คน และเมื่อถูกจับจะมีเงินพร้อมประกันตัวทันที บางคนถูกจับกุมแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง ส่วนพนักงานที่มีพฤติกรรมขโมยสินค้ามีจำนวน 1,000 คน ขณะที่สาขาที่มีการขโมยสินค้ามากที่สุด คือ สมุทรปราการ รองลงมา สำโรงและลาดพร้าว ส่วนสินค้าที่ถูกขโมยมากที่สุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 คือ เครื่องสำอาง รองลงมาเป็นสินค้าเพื่อความงาม สุขภาพ และบำรุงผิว

ไม่มีความคิดเห็น: