เล่นดนตรีช่วยชะลอความแก่ (ไทยโพสต์)
ผลวิจัยสรุปว่า การเล่นดนตรีช่วยลดภาวะชราภาพได้ หลังพบว่า นักดนตรีในวัย 45-65 มักมีความจำดี และสามารถได้ยินเสียงพูดที่อยู่ท่ามกลางเสียงจอแจรอบข้างได้ดีกว่าคนที่ไม่ได้เล่นดนตรี
โดยรายงานชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสาร PLoS One ระบุว่า นอกจากดนตรีช่วยให้เด็กเรียนรู้ในห้องเรียนได้ดีขึ้นแล้ว การเรียนดนตรียังช่วยลดผลทางลบของการมีอายุมากขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งนินา เคราส์ แห่งห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับประสาทวิทยาด้านการได้ยิน มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นในสหรัฐ บอกว่า คนที่เล่นดนตรีมาตลอดชีวิต ดูจะได้รับประโยชน์ในเรื่องความจำและความสามารถในการได้ยินเสียงพูดในท่ามกลางเสียงจอแจ ซึ่งความสามารถสองประการนี้มักลดลงเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น และคนที่สูญเสียการได้ยินเพราะภาวะชราอาจนำไปสู่อาการโดดเดี่ยวตัวเองและอาการซึมเศร้าได้
ทั้งนี้ นักวิจัยได้ศึกษานักดนตรี 18 คนกับคนที่ไม่ได้เล่นดนตรี 19 คนซึ่งมีอายุระหว่าง 45-65 ปี ในเรื่องของการได้ยินเสียงพูด ความจำเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ยิน ความจำเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เห็น พบว่า คนที่เริ่มเล่นดนตรีตั้งแต่อายุ 9 ขวบหรือก่อนหน้านั้น และยังคงเล่นดนตรีมาตลอดชีวิต ทำคะแนนในเรื่องการได้ยินเสียงพูดในที่จอแจ และความจำของสิ่งที่ได้ยินดีกว่าคนที่ไม่ได้เล่นดนตรี ยกเว้นในเรื่องความจำเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เห็น ซึ่งคนทั้งสองกลุ่มทำคะแนนได้พอ ๆ กัน
ด้วยเหตุนี้ ดร.เคราส์ จึงสรุปว่า การเล่นดนตรีจะช่วย "ปรับจูน" ระบบประสาท และช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ด้านการสื่อสารซึ่งมาพร้อมกับวัยที่สูงขึ้นได้
ผลวิจัยสรุปว่า การเล่นดนตรีช่วยลดภาวะชราภาพได้ หลังพบว่า นักดนตรีในวัย 45-65 มักมีความจำดี และสามารถได้ยินเสียงพูดที่อยู่ท่ามกลางเสียงจอแจรอบข้างได้ดีกว่าคนที่ไม่ได้เล่นดนตรี
โดยรายงานชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสาร PLoS One ระบุว่า นอกจากดนตรีช่วยให้เด็กเรียนรู้ในห้องเรียนได้ดีขึ้นแล้ว การเรียนดนตรียังช่วยลดผลทางลบของการมีอายุมากขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งนินา เคราส์ แห่งห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับประสาทวิทยาด้านการได้ยิน มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นในสหรัฐ บอกว่า คนที่เล่นดนตรีมาตลอดชีวิต ดูจะได้รับประโยชน์ในเรื่องความจำและความสามารถในการได้ยินเสียงพูดในท่ามกลางเสียงจอแจ ซึ่งความสามารถสองประการนี้มักลดลงเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น และคนที่สูญเสียการได้ยินเพราะภาวะชราอาจนำไปสู่อาการโดดเดี่ยวตัวเองและอาการซึมเศร้าได้
ทั้งนี้ นักวิจัยได้ศึกษานักดนตรี 18 คนกับคนที่ไม่ได้เล่นดนตรี 19 คนซึ่งมีอายุระหว่าง 45-65 ปี ในเรื่องของการได้ยินเสียงพูด ความจำเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ยิน ความจำเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เห็น พบว่า คนที่เริ่มเล่นดนตรีตั้งแต่อายุ 9 ขวบหรือก่อนหน้านั้น และยังคงเล่นดนตรีมาตลอดชีวิต ทำคะแนนในเรื่องการได้ยินเสียงพูดในที่จอแจ และความจำของสิ่งที่ได้ยินดีกว่าคนที่ไม่ได้เล่นดนตรี ยกเว้นในเรื่องความจำเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เห็น ซึ่งคนทั้งสองกลุ่มทำคะแนนได้พอ ๆ กัน
ด้วยเหตุนี้ ดร.เคราส์ จึงสรุปว่า การเล่นดนตรีจะช่วย "ปรับจูน" ระบบประสาท และช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ด้านการสื่อสารซึ่งมาพร้อมกับวัยที่สูงขึ้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น