เผ็ด ๆ ร้อน ๆ มีดีอย่างไรนะ ? (Lisa)
เข้าหน้าร้อนกันแล้ว แต่ทำไมคนไทยอย่างเรา ๆ กลับยิ่งโหยหาอาหารรสชาติเผ็ดร้อน ว่าแต่ยิ่งกินยิ่งแซบแล้วมันดีต่อสุขภาพยังไงกันนะ แล้วมีข้อเสียรึเปล่า? ไปดูกัน
กินเผ็ดแล้วมีดีตรงที่...
ในพริกมีสารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่าแคปไซซิน ซึ่งจะช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญ ทำให้ร่างกายสามารถใช้แคลอรีได้เร็วขึ้น นี่เป็นเพราะแคปไซซินจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น เช่นเดียวกับเร่งอัตราชีพจร นอกจากนี้ ยังเคยมีการศึกษาซึ่งชี้ว่า คนกินอาหารเผ็ดจะกินอาหารปริมารน้อยลง จึงทำให้แคลอรีที่ได้รับน้อยลงเช่นกัน แถมแคปไซซินยังช่วยต่อสู้กับอาการอักเสบภายในร่างกายอีกด้วย
พริกไทยเผ็ดร้อนอาจช่วยบำรุงสุขภาพของหัวใจได้โดยการเสริมความสามารถของร่างกายในการสลายเลือดที่อุดตันจากการช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลเลว (LDL) มันอาจเป็นเหมือนกับยาขยายหลอดลม ด้วยความที่แคปไซซินในพริกจะไปกระตุ้นการหลั่งเหงื่อ มันจึงช่วยบรรเทาอาการครั่นเนื้อครั่นตัวสำหรับคนที่เริ่มมีอาการของไข้หวัด ช่วยคนที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรืออาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวจ้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ช่วยบรรเทาอาการหายใจไม่ออก
เมื่อคุณกินของเผ็ดร้อน อุณหภูมิภายในร่างกายก็จะสูงขึ้น ความดันโลหิตลดลง แต่ไหลเวียนไปทั่วร่างกายได้สะดวกยิ่งขึ้น พริกยังช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดด้วย เนื่องจากมันมีทั้งวิตามินเอและวิตามินซี
แคปไซซินอาจช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ในประเทศที่อาหารการกินดั้งเดิมมีรสชาติเผ็ดร้อน อย่างเช่น อินเดีย และเม็กซิโก ก็จะพบคนมีมะเร็งบางชนิดน้อยกว่าประเทศทางฝั่งยุโรป
เครื่องเทศรสจัดจ้านจะช่วยส่งเสริมระบบย่อยอาหาร เนื่องจากมันจะไปเพิ่มการหลั่งน้ำกรดในกระเพาะอาหารแคปไซซินยังช่วยฆ่าแบคทีเรียอย่าง H.Pylori ซึ่งอาจเป็นตัวการของแผลในกระเพาะอาหาร จึงอาจช่วยในการป้องกันโรคกระเพาะ แต่จะไม่ช่วยหากเป็นโรคไปเสียแล้ว
ขมิ้นชัน อาจช่วยลดอาการอักเสบบริเวณข้อต่อ โดย Curcumin ที่เป็นสารประกอบหลักนั้น มีคุณสมบัติบรรเทาอาการปวดข้อด้วย
พริกขี้หนูอาจเพิ่มระดับของฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินและเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข ดังนั้น มันจึงเป็นสมุนไพรต้านโรคซึมเศร้า และช่วยคลายเครียดได้ด้วย
แต่เดี๋ยวก่อน...อย่าเพิ่งกินเผ็ดจัด
โรคกระเพาะอาจถามหาถ้าคุณกินเผ็ดมากเกินไปจนผนังกระเพาะอาหารเกิดการอักเสบ
อาหารที่รสชาติเผ็ดอาจกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อนได้ ที่คุณมักจะเรอหลังกินอาหารรสเผ็ดไม่ได้แปลว่าคุณไม่มีมารยาท แต่เป็นร่างกายคุณต่างหากที่ไม่สามารถจัดการกับอาการรสจัดได้ และหากมีกรดไหลย้อนนาน ๆ เข้าอาจนำไปสู่โรคมะเร็งหลอดอาหาร (แต่เป็นกรณีที่หาได้ยาก) และทำให้ฟันกร่อน
ทำให้นอนไม่หลับ อาหารรสจัดไม่ดีต่อการนอนหลับของคุณเลย เนื่องจากมันไปเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นนั่นเอง
ทำให้ปุ่มรับรสเสียไป หลังจากกินเผ็ดนาน ๆ เข้าหลาย ๆ คนรู้สึกว่าต้องกินอาหารรสจัดกว่าเดิม นี่ไม่ใช่ เพราะร่างกาย "เคยชิน" แต่เป็นเพราะประสาทรับรู้รสเสื่อมถอยต่างหาก
ไม่มีอะไรที่มีประโยชน์แล้วไม่มีโทษตามมาด้วย พริก และเครื่องเทศรสจัดจ้านอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น กินแค่พอประมาณ อย่าให้ถึงกับพ่นไฟได้ มิเช่นนั้นแล้ว ร่างกายได้รับโทษ จะหาว่าไม่เดือนนะคะ
Tip :
กรดจากน้ำผลไม้ อย่างเช่น น้ำมะนาว หรือน้ำมะเขือเทศ จะช่วยบรรเทาความเผ็ดได้บ้าง แต่ที่ดีที่สุดจาก Myth Busters เขาทดลองแล้วว่าเป็น "นมสด" นี่ล่ะ
เข้าหน้าร้อนกันแล้ว แต่ทำไมคนไทยอย่างเรา ๆ กลับยิ่งโหยหาอาหารรสชาติเผ็ดร้อน ว่าแต่ยิ่งกินยิ่งแซบแล้วมันดีต่อสุขภาพยังไงกันนะ แล้วมีข้อเสียรึเปล่า? ไปดูกัน
กินเผ็ดแล้วมีดีตรงที่...
ในพริกมีสารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่าแคปไซซิน ซึ่งจะช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญ ทำให้ร่างกายสามารถใช้แคลอรีได้เร็วขึ้น นี่เป็นเพราะแคปไซซินจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น เช่นเดียวกับเร่งอัตราชีพจร นอกจากนี้ ยังเคยมีการศึกษาซึ่งชี้ว่า คนกินอาหารเผ็ดจะกินอาหารปริมารน้อยลง จึงทำให้แคลอรีที่ได้รับน้อยลงเช่นกัน แถมแคปไซซินยังช่วยต่อสู้กับอาการอักเสบภายในร่างกายอีกด้วย
พริกไทยเผ็ดร้อนอาจช่วยบำรุงสุขภาพของหัวใจได้โดยการเสริมความสามารถของร่างกายในการสลายเลือดที่อุดตันจากการช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลเลว (LDL) มันอาจเป็นเหมือนกับยาขยายหลอดลม ด้วยความที่แคปไซซินในพริกจะไปกระตุ้นการหลั่งเหงื่อ มันจึงช่วยบรรเทาอาการครั่นเนื้อครั่นตัวสำหรับคนที่เริ่มมีอาการของไข้หวัด ช่วยคนที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรืออาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวจ้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ช่วยบรรเทาอาการหายใจไม่ออก
เมื่อคุณกินของเผ็ดร้อน อุณหภูมิภายในร่างกายก็จะสูงขึ้น ความดันโลหิตลดลง แต่ไหลเวียนไปทั่วร่างกายได้สะดวกยิ่งขึ้น พริกยังช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดด้วย เนื่องจากมันมีทั้งวิตามินเอและวิตามินซี
แคปไซซินอาจช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ในประเทศที่อาหารการกินดั้งเดิมมีรสชาติเผ็ดร้อน อย่างเช่น อินเดีย และเม็กซิโก ก็จะพบคนมีมะเร็งบางชนิดน้อยกว่าประเทศทางฝั่งยุโรป
เครื่องเทศรสจัดจ้านจะช่วยส่งเสริมระบบย่อยอาหาร เนื่องจากมันจะไปเพิ่มการหลั่งน้ำกรดในกระเพาะอาหารแคปไซซินยังช่วยฆ่าแบคทีเรียอย่าง H.Pylori ซึ่งอาจเป็นตัวการของแผลในกระเพาะอาหาร จึงอาจช่วยในการป้องกันโรคกระเพาะ แต่จะไม่ช่วยหากเป็นโรคไปเสียแล้ว
ขมิ้นชัน อาจช่วยลดอาการอักเสบบริเวณข้อต่อ โดย Curcumin ที่เป็นสารประกอบหลักนั้น มีคุณสมบัติบรรเทาอาการปวดข้อด้วย
พริกขี้หนูอาจเพิ่มระดับของฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินและเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข ดังนั้น มันจึงเป็นสมุนไพรต้านโรคซึมเศร้า และช่วยคลายเครียดได้ด้วย
แต่เดี๋ยวก่อน...อย่าเพิ่งกินเผ็ดจัด
โรคกระเพาะอาจถามหาถ้าคุณกินเผ็ดมากเกินไปจนผนังกระเพาะอาหารเกิดการอักเสบ
อาหารที่รสชาติเผ็ดอาจกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อนได้ ที่คุณมักจะเรอหลังกินอาหารรสเผ็ดไม่ได้แปลว่าคุณไม่มีมารยาท แต่เป็นร่างกายคุณต่างหากที่ไม่สามารถจัดการกับอาการรสจัดได้ และหากมีกรดไหลย้อนนาน ๆ เข้าอาจนำไปสู่โรคมะเร็งหลอดอาหาร (แต่เป็นกรณีที่หาได้ยาก) และทำให้ฟันกร่อน
ทำให้นอนไม่หลับ อาหารรสจัดไม่ดีต่อการนอนหลับของคุณเลย เนื่องจากมันไปเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นนั่นเอง
ทำให้ปุ่มรับรสเสียไป หลังจากกินเผ็ดนาน ๆ เข้าหลาย ๆ คนรู้สึกว่าต้องกินอาหารรสจัดกว่าเดิม นี่ไม่ใช่ เพราะร่างกาย "เคยชิน" แต่เป็นเพราะประสาทรับรู้รสเสื่อมถอยต่างหาก
ไม่มีอะไรที่มีประโยชน์แล้วไม่มีโทษตามมาด้วย พริก และเครื่องเทศรสจัดจ้านอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น กินแค่พอประมาณ อย่าให้ถึงกับพ่นไฟได้ มิเช่นนั้นแล้ว ร่างกายได้รับโทษ จะหาว่าไม่เดือนนะคะ
Tip :
กรดจากน้ำผลไม้ อย่างเช่น น้ำมะนาว หรือน้ำมะเขือเทศ จะช่วยบรรเทาความเผ็ดได้บ้าง แต่ที่ดีที่สุดจาก Myth Busters เขาทดลองแล้วว่าเป็น "นมสด" นี่ล่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น