วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สัญญาณอันตรายของผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย


พฤติกรรมการฆ่าตัวตายและสัญญาณอันตรายของผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (โครงการช่วยเหลือผู้มีภาวะซึมเศร้า)
พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
1 คิดฆ่าตัวตาย
2 ทำร้ายตนเอง แต่ไม่เสียชีวิต
3 ฆ่าตัวตาย
คนทั่วไป อาจมีความคิดชั่ววูบที่อยากตาย ความคิดเช่นนี้มักเกิดขึ้นในช่วงชีวิตประสบปัญหายุ่งยาก เกิดความเครียด ทำให้รู้สึกว่าชีวิตไม่มีความหมาย หรือเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกไม่เป็นที่รัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความคิดดังกล่าวก็จะค่อย ๆ ลบเลือนหายไปได้เอง ต่างจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรงที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
สัญญาณอันตรายของผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
1 แยกตัว ไม่พูดกับใคร
2 มีคนในครอบครัวฆ่าตัวตายมาก่อน
3 เคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว
4 มีการวางแผนแผนฆ่าตัวตายที่แน่นอน
5 เวลาพูด มีน้ำเสียงวิตกกังวล สีหน้าเศร้าหมอง
6 ติดเหล้าหรือยาเสพติด
7 ทรมานจากโรคจนต้องพึ่งยารักษาประและนอนไม่หลับติดกันเป็นเวลานานๆ
8 ชอบพูดเปรยๆว่าอยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่
9 ประสบปัญหาชีวิต เช่น ล้มละลาย สูญเสียคนรักกะทันหัน เป็นโรคเรื้อรัง พิการจากอุบัติเหตุ
10 มีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ที่น่าระวังคือ เมื่ออารมณ์เปลี่ยนแปลงเป็นตรงกันข้าม จากซึมเศร้าหรือหงุดหงิดมานานกลับดูสบายใจอย่างผิดหูผิดตา ช่วงนี้แสดงว่า เขารวบรวมความกล้าและตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะฆ่าตัวตาย
การป้องกันและเยียวยาผู้ที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย
สำหรับการป้องกันนั้น การอบรมเลี้ยงดูบุตรให้มีวุฒิอารมณ์สมวัย สามารถต้านทานการฆ่าตัวตายได้ ต้องเริ่มต้นตั้งแต่เด็ก คนทุกข์ใจมักไม่มีโอกาสได้พูดระบาย มีแต่คนคอยสอนเตือน ห้ามหรือซ้ำเติม แต่ไม่มีคนคอยฟัง เราจึงช่วยได้ด้วยการให้ความใส่ใจ รับฟังปัญหา และให้คำแนะนำที่เปนประโยชน์
ท่าทีในการคุยเป็นสิ่งสำคัญ ควรฟังด้วยท่าที พร้อมที่จะรับในสิ่งที่เขาเล่า ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นอย่างไร อย่าด่วนตัดสินใจว่า เขาไม่น่าทำอย่างนี้หรือหรือทำอย่างนั้น ขอให้ฟังด้วยความเยือกเย็นและไม่วิตกกังวล เขาจะสบายใจขึ้นจากการรับรู้ว่า เราแคร์เขา
ถ้าผู้ใดมีสัญญาณดังกล่าวมานี้ ญาติพี่น้องหรือเพื่อนสนิท ควรจะดูแลคนผู้นั้นอย่างดี คอยอยู่เป็นเพื่อนพูดคุยอย่างใกล้ชิด พูดให้กำลังใจ เพื่อให้คลายความเศร้ากังวล พาไปออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน
ทุกปัญหามีทางแก้ไข หากแก้ไขคนเดียวไม่ได้ก็ควรไปพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อให้คำปรึกษาที่ดีกว่าคิดคนเดียว หรือ โทรสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323

ไม่มีความคิดเห็น: